กาวร้อนติดมือ เอาออกยังไง

กาวร้อนติดมือ เอาออกอย่างไร ใช้อะไรล้าง

หนึ่งในปัญหาที่หลายคนพบบ่อย คือ กาวร้อนเลอะติดมือหรือนิ้ว วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีแก้ปัญหากาวร้อนติดมือว่าเอาออกอย่างไร ควรใช้อะไรล้าง กาวร้อน ไดโก้ 105 และ 101 นั้นเป็นกาวที่แห้งเร็ว ติดแน่น และเกิดความร้อนในขณะแข็งตัว 1. เมื่อประสบปัญหา กาวร้อนติดมือ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่นในปริมาณมากๆ โดยทันที 2. ถ้ายังไม่ได้ผลให้ใช้ “อซิโตน” หรือ น้ำยาล้างเล็บ ค่อยๆ ทาบริเวณเนื้อกาว โดยอาจใช้ไม้ขนาดเล็กค่อยๆ เขี่ยให้อะซิโตนเข้าทำละลายเนื้อกาว แล้วจึงแกะคราบกาวออกช้าๆ ข้อควรระวัง: เมื่อกาวร้อนติดมือ ควรตั้งสติและไม่ควรดึงผิวหนังออกจากกันแรงๆ เพราะเนื้อกาวที่ติดแน่นอาจทำให้ผิวหนังฉีกขาด อะซิโตน คืออะไร  อะซิโตน หรือ acetone นั้นเป็นสารเคมีในรูปของเหลว ที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นคล้ายสาระแหน่ และติดไฟได้ง่าย จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง สำหรับคนส่วนใหญ่ จะคุ้นเคยกับอะซิโตนมากที่สุดในรูปแบบของน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของน้ำยาล้างเล็บส่วนใหญ่ ขณะที่ในโรงงานอุตสาหกรรม อะซิโตน นั้นมักถูกใช้เป็นตัวทำลายสารต่างๆ  เช่น โรงงานสี ล้างหมึกพิมพ์ โรงงานผลิตน้ำมันขัดเงา และกาว เป็นต้น ทั้งนี้ อะซิโตน นั้นเป็นสารอันตรายที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองกับร่างกาย ทั้งระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และดวงตา จึงไม่ควรสัมผัสเป็นเวลานาน ระวังไม่ให้เข้าตา และห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ระหว่างที่ใช้อะซิโตนเพื่อล้างกาว ควรใส่แว่น ผ้าปิดจมูก และสวมถุงมือยาง เพื่อความปลอดภัย อะซิโตน นั้นสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ช่างสี ส่วนกาวร้อน ไดโก้ 101 และ 105 นั้น มีวางจำหน่ายตามห้างร้านชั้นนำทั่วประเทศ อ่านเพิ่มเติม: กาวร้อน กาวตราช้าง หาซื้อได้ที่ไหน วิธีลบคราบกาวร้อน เมื่อกาวร้อนเลอะสิ่งของ กาวร้อน ไดโก้ 101 และ 105 คุณภาพสูง

กาวร้อน ติดไม้ ติดพลาสติก

กาวร้อน ติดไม้-พลาสติก อย่างไรให้แข็งแรง

หลายคนมีคำถามว่ากาวร้อน ติดไม้ ติดพลาสติก ได้ไหม และสามารถใช้ติดอะไรได้บ้าง กาวร้อน ไดโก้ 105 และ 101 ขอแนะนำข้อมูลการใช้งานในบทความนี้ กาวร้อนนั้นสามารถใช้ติดไม้ได้อย่างดี จึงทำเป็นที่นิยมในกลุ่มช่างไม้ ช่างเฟอร์นิเจอร์ และผู้ชอบทำงานฝีมือทั่วไป เช่น ติดกรงนก ประกอบชั้นหนังสือ หรือ ติดบัวกระเบื้องยาง ด้วยคุณสมบัติของกาวร้อน ที่ทั้งแห้งเร็วและแข็งแรง จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้ติดไม้ หรือ พลาสติก ที่ต้องการเนื้อกาวที่มีความใสและบางเรียบในการยึดติด โดยกาวร้อนจะแข็งตัวยึดติดภายใน 2-3 วินาที เท่านั้น นอกจากจะใช้ติดไม้แล้ว กาวร้อนยังสามารถใช้ติดวัสดุได้หลายชนิด เช่น ติดยาง ติดพลาสติก แต่มีข้อยกเว้นสำหรับวัสดุบางชนิด เช่น พีอี พีพี เทฟล่อน และยางซิลิโคน ทั้งนี้ การเลือกซื้อกาวร้อนที่มีคุณภาพสูง นอกจากจะคุ้มค่าเนื่องจากสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานโดยไม่แห้งแข็งแล้ว ยังช่วยให้งานมีความสะอาดเรียบร้อย ไม่เจอปัญหาคราบขาวฝ้าซึ่งมักพบในกาวร้อนที่ไม่ได้คุณภาพ นอกจากนี้ ช่างไทยยังมีเทคนิคการใช้กาวร้อนแบบพิเศษ ที่ช่วยให้ติดได้แน่นยิ่งกว่าเดิม โดยการใช้วัสดุอย่าง สำลี ขี้เลื่อย หรือ ผงซักฟอก เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมให้เนื้อกาวยึดติดไม้หรือพลาสติกได้ดียิ่งขึ้นอีก ถือเป็นเคล็ดลับที่ควรรู้สำหรับช่างสามัญประจำบ้าน ช่างส่วนมากมักนิยมใช้กาวร้อนในพื้นที่เล็กๆ เช่น ติดขอบบัวพีวีซี ซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ แต่กาวร้อนนั้นยังสามารถใช้กับงานที่รับน้ำหนักมากๆ ได้เช่นกัน แม้จะไม่เท่ากาวตราช้าง ซึ่งมีแรงยึดติดต่อหนึ่งหยดสูงกว่า เราขอแนะนำให้ลองดู “วิธีใช้กาวร้อน ให้แข็งแรงมากๆ” ที่ทางช่อง SWAT Gadget ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในวิดีโอข้างล่างนี้ กาวร้อนเลอะ: วิธีลบคราบกาวร้อน กาวร้อน กับ กาวตราช้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

วิธีเก็บกาวตราช้าง หลังเปิดใช้แล้ว ให้เก็บไว้ใช้ได้นาน

วิธีเก็บกาวตราช้าง ทื่ถูกต้อง จะสามารถช่วยยืดอายุการใช้งาน ทำให้เก็บไว้ใช้ได้อีกเป็นเวลานานหลายเดือนหลังเปิดใช้ กาวช้าง นั้นจะแข็งตัวเมื่อสารเคมีทำปฏิกิริยากับความชื้น ดังนั้น การเก็บรักษาในสภาพปลอดความชื้น เช่น เก็บในตู้เย็น หรือ กล่องป้องกันความชื้น จะช่วยลดปัญหากาวแห้งแข็งคาหลอดได้ดี นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่กาวช้างเคนจิ พัฒนาระบบฝาล็อก 2 ชั้นพิเศษ ช่วยป้องกันความชื้นและเพิ่มอายุการใช้งาน วิธีเก็บกาวตราช้าง ตั้งหลอดกาวขึ้นให้กาวไหลลงจากบริเวณปากหลอด เช็ดคราบกาวที่เลอะบริเวณปากหลอด ด้วยกระดาษทิชชู่ ปิดฝาให้สนิท กาวช้างเคนจิ มีระบบฝาล็อก 2 ชั้น ช่วยป้องกันความชื้นได้ดีกว่า นำกาวใส่ไว้ในถุงซิปหรือถุงพลาสติกโดยปิดถุงให้สนิท เก็บในตู้เย็น ช่องธรรมดา หรือ เก็บในกล่องป้องกันความชื้น หมายเหตุ: สามารถใช้ ซิลิก้าเจล ซองกันชื้น เพื่อช่วยดูดความชื้นได้ ข้อควรระวัง ควรเก็บให้ห่างมือเด็ก หากเก็บในตู้เย็น ต้องใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ไม่ควรเก็บปะปนกับหลอดครีมหรือยาต่างๆ เราแนะนำให้เช็ดคราบกาวที่เลอะบริเวณปากหลอดให้แห้งก่อนปิดฝา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแห้งแข็งบริเวณปลายหลอดทำให้ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ นอกจากวิธีการเก็บรักษาแล้ว เรายังมีคำแนะนำสำหรับ วิธีใช้กาวตราช้างที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดวัสดุ รวมถึงวิธีแก้ปัญหา กาวตราช้างติดมือ อีกด้วย

ประวัติ กาวตราช้าง

ประวัติ กาวตราช้าง

รู้หรือไม่ว่า กาวตราช้าง หรือ “ไซยาโนอะคริเลต” นั้นถูกค้นพบโดยบังเอิญในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กาวช้างเคนจิ ขอพาย้อนไปดูจุดเริ่มต้นเมื่อกว่า เมื่อปี ค.ศ. 1942 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ดร.แฮร์รี่ คูเวอร์ นักประดิษฐ์หนุ่มชาวอเมริกันวัย 25 ปี ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหาวิธีผลิตศูนย์เล็งปืนที่ทำจากพลาสติกใสเพื่อนำไปใช้สำหรับประกอบอาวุธของกองทัพฝ่ายพันธมิตร ขณะที่เขากำลังทดลองสูตรเคมีหลายหลายชนิด ปรากฏว่าหนึ่งในสูตรที่ ดร.คูเวอร์ คิดค้นขึ้นมานั้น ทำให้เกิดสารที่มีคุณสมบัติยึดตัวได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง แต่เขาไม่ได้ใส่ใจกับสูตรเคมีดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะนอกจากมันจะเหนียวเกินไปแล้ว มันยังไม่เหมาะจะนำไปใช้ประกอบศูนย์เล็งปืนที่เขากำลังค้นคว้าอยู่ อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา เมื่อปี ค.ศ. 1951 ซึ่งเป็นช่วงที่ ดร.คูเวอร์ ได้ทำงานอยู่ที่บริษัท อีสต์แมน โกดัก (Eastman Kodak) ในตำแหน่งหัวหน้าทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ และได้รับมอบหมายให้คิดค้นสารอะคริเลตโพลีเมอร์ที่ทนความร้อนได้ดี เพื่อนำไปใช้กับหลังคาเคื่องบินเจ็ต เพื่อนร่วมงานของเขาที่ชื่อว่า เฟร็ด จอยเนอร์ (Fred Joyner) ได้ทดลองนำสาร “ไซยาโนอะคริเลต” สูตรเดิมที่ ดร.คูเวอร์ เคยค้นพบในช่วงสงครามโลก มาทดลองใช้ติดยึดเครื่องวัดการหักเหของแสง และพบว่ามันใช้งานได้ดีจนน่าประหลาดใจ เหตุการณ์นั้นทำให้ ดร.คูเวอร์ กลับมาสนใจ “ไซยาโนอะคริเลต” อีกครั้ง และในครั้งนี้เขามองเห็นถึงศักยภาพของมันในฐานะผลิตภัณฑ์สำหรับยึดติดพื้นผิวหลายชนิด และเริ่มพัฒนามันเรื่อยมา จนกระทั่งในปี 1958 บริษัท อีสต์แมน โกดัก ได้เริ่มวางจำหน่าย กาวตราช้าง หรือ “ซูเปอร์กลู” (Super Glue) เป็นครั้งแรกในชื่อ Eastman #910 หนึ่งในเหตุการณ์ที่ช่วยทำให้ กาวตราช้าง กลายเป็นที่รู้จักในสหรัฐฯ คือ เทปรายการโทรทัศน์ I’ve Got a Secret ซึ่งมี แกร์รี มัวร์ (Garry Moore) เป็นดารารับเชิญ ซึ่งรายการได้นำกาว อีสต์แมน #910 หนึ่งหยดมายึดแผ่นเหล็กเข้าหากันและดึงมัวร์ขึ้นกลางอากาศ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติในการยึดติดของกาวชนิดนี้ สำหรับในประเทศไทย กาวตราช้าง เคนจิ เป็นหนึ่งในกาว “ซูเปอร์กลู” ยี่ห้อแรกๆ ที่เริ่มจำหน่ายในประเทศ โดยวางขายครั้งแรกเมื่อปี 1985 และทำให้สินค้าชนิดนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปจากรูปสัญลักษณ์ช้างสีเหลือง และโฆษณาทีวี ซึ่งทำให้เป็นที่พูดติดปากกันว่า “กาวช้าง ของแท้ ต้องเคนจิ” โดยปัจจุบัน กาวตราช้าง นั้นกลายเป็นชื่อเรียกทั่วไปสำหรับ ไซยาโนอะคริเลต ในประเทศไทย กาวร้อน และ กาวตราช้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ลงทุนแมน: ใครเป็นเจ้าของกาวตราช้าง ส่วนประกอบทางเคมีของ กาวตราช้าง สูตรโมเลกุลทั่วไปของไซยาโนอะคริเลต หรือที่มีชื่อเรียกในอุตสาหกรรมว่า “CA” เป็นชื่อเรียกทั่วไปของวัสดุทางเคมีที่มีคุณสมบัติยึดติดแบบแห้งเร็ว ซึ่งอาจรวมถึง กาวตราช้าง (ethyl-2-cyanoacrylate) หรือ สารยึดติดที่ใช้ทางการแพทย์และศัลยกรรม (n-butyl-cyanoacrylate) โดยอาศัยน้ำหรือความชื้นเพียงเล็กน้อยเป็นตัวกระตุ้นการแข็งตัว ซึ่งตามปกติแล้วจะอาศัยความชื้นที่อยู่บนวัสดุที่ต้องการนำมายึดติดอยู่แล้ว แม้ว่า ไซยาโนอะคริเลต จะถูกค้นพบโดย ดร.คูเวอร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่กว่า “ซูเปอร์กลู” จะเริ่มวางจำหน่ายนั้นสงครามก็ได้สิ้นสุดลงแล้วหลายปี อย่างไรก็ตาม กาวตราช้างนั้นยังถูกนำไปใช้ในสนามรบหลายครั้ง โดยมันสามารถช่วงปิดบาดแผลของทหารในขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อเย็บบาดแผลต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน ไซยาโนอะคริเลต ยังคงถูกใช้ร่วมกับการเย็บแผลในหลายกรณีอีกด้วย […]

วิธีใช้ กาวตราช้าง ทำไมกาวตราช้างหลุดง่าย

วิธีใช้กาวตราช้างที่ถูกต้อง

กาวช้างเคนจิ ขอแนะนำวิธีใช้กาวตราช้างที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้คุณยึดติดวัตถุเข้าด้วยกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่สิ้นเปลืองอีกด้วย 5 ขั้นตอนง่ายๆ ทำความสะอาดผิววัสดุที่ต้องการยึดติด ทากาวบางๆ ให้ทั่วพื้นผิวเพียงด้านเดียว นำวัสดุมาประกบเข้าหากันให้สนิท กดทิ้งไว้สักครู่ กาวจะแห้งภายใน 10 วินาที ควรทิ้งไว้ข้ามคืน ก่อนใช้งานจริง ทำไมบางคนถึงเจอปัญหากาวช้างหลุดง่าย ท่านอาจเคยได้ยินผู้ใช้งานกาวตราช้างบางคนสงสัยว่า ทำไมกาวตราช้างจึงหลุดง่าย ซึ่งเหตุผลนั้นเกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกวิธี หรือเลือกกาวตราช้างที่ไม่มีคุณภาพ แต่นอกจากจะเลือกซื้อ กาวตราช้าง ของแท้ที่มีคุณภาพแล้ว ปัญหานี้อาจเกิดจากการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่พบบ่อย คือ ผู้ใช้งานนั้นใช้กาวตราช้างใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เนื้อผิวของเคมีที่ควรจะเชื่อมสองพื้นผิวเข้าด้วยกัน กลับกลายเป็นการเชื่อมพื้นผิวเข้ากับเนื้อเคมีกาวตราช้าง ทำให้การยึดติดระหว่างสองพื้นผิวมีระยะห่างมากกว่าที่ควร และส่งผลให้รับแรงถ่วงดึงไม่ได้ตามที่ควรจะเป็น เคล็ดลับในการแก้ปัญหานี้อยู่ที่การใช้กาวตราช้างในปริมาณที่เหมาะสม และคำนึงไว้ว่ากาวตราช้างมีความเข้มข้นทางเคมีที่สูงกว่ากาวร้อน ปริมาณการใช้งานต่อหนึ่งพื้นบริเวณจึงต้องการแค่ปริมาณไม่มาก นอกจากนี้ ท่านควรเลือกใช้กาวตราช้างที่มาตรฐานที่สามารถรับรองได้ว่ากาวแต่ละหลอดนั้นมีคุณภาพดีสม่ำเสมอ นี่คือหนึ่งเคล็ดลับดีดีที่ กาวตราช้าง เคนจิ ของแท้จากญี่ปุ่น นำมาฝากกัน หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้าอื่นๆ โปรดส่งคำถามมาทางอีเมล ทางบริษัทยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะตอบทุกปัญหาเพื่อความพอใจที่สุดของลูกค้าทุกท่าน กาวร้อน และ กาวตราช้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ประวัติ กาวตราช้าง มีจุดเริ่มต้นอย่างไร

กาวร้อน อย่างดี คุณภาพสูง

วิธีลบคราบกาวร้อน เมื่อกาวร้อนเลอะสิ่งของ

มีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับการลบคราบกาวร้อนออกจากพื้นผิว ไม่ว่าจะใช้น้ำมันหลากหลายประเภท ตั้งแต่ น้ำมันก๊าด น้ำมันสน หรือน้ำมันพืช ไปจนถึง แว๊กซ์ และขี้ผึ้งหลากชนิด ซึ่งล้วนไม่ได้ผลที่ดีนัก วันนี้ กาวร้อนไดโก้ ขอแนะนำวิธีการลบคราบที่ได้ผลดีที่สุด โดยสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาคราบกาวร้อนเลอะได้ดีที่สุดคือ Acetone (อซิโทน) นั่นเอง ท่านอาจสงสัยว่า แล้วเจ้าสารที่ว่านี้จะหาได้จากที่ไหน ง่ายมาก acetone เป็นส่วนประกอบที่มีทั่วไปในน้ำยาล้างยาทาเล็บส่วนมาก Acetone ซึ่งเป็นสารทำละลายชั้นดี ซึ่งจะเข้าไปละลายสารเคมีในเนื้อกาวที่ทำหน้าที่ยึดเกาะพื้นผิว อย่างไรก็ตาม การทำความสะอาดคราบกาวร้อนด้วยการใช้ acetone นั้น ควรระมัดระวังในการทำละลายของสารที่อาจจะเกิดขึ้นกับพื้นผิวนั้น ๆ ด้วย เช่น แว๊กซ์ที่เคลือบสีรถ เป็นต้น ดังนั้นควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ และไม่ขัดถูแรงจนเกินไป ในบางกรณี อาจป้าย acetone ทิ้งไว้ที่คราบกาว แล้วทิ้งไว้ แล้วจึงทำใหม่ซ้ำจนคราบกาวค่อย ๆ นิ่มลง จนสามารถดึงออกได้โดยไม่ทำให้พื้นผิวเสียหาย ท่านยังสามารถใช้ไม้ขนาดเล็ก ๆ ช่วยเขี่ย แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะคราบกาวร้อนที่แข็งจะมีแรงยึดตัวที่แน่น และอาจทำให้สีของพิ้นผิวลอกเสียหายออกมาด้วยได้ ควรใช้ความใจเย็นในการลบคราบกาวร้อน และกาวตราช้างเสมอ เพียงเท่านี้ก็หมดกังวลกับปัญหาคราบกาวร้อนเลอะเทอะจากการทำงานประดิษฐ์ที่คุณรักไปได้เลย ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมและวิธีใช้ผลิตภัณฑ์กาวร้อนและกาวตราช้างได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้: กาวร้อนติดมือ เอาออกอย่างไร ใช้อะไรล้าง ทำอย่างไรเมื่อกาวตราช้างติดมือ วีธีใช้กาวให้ติดทนนาน กาวร้อนตรา ไดโก้ กาวช้างตรา เคนจิ

Cyanoacrylate … กาว

  กาวพลังช้างเป็นกาวที่เกิดการแข็งตัวได้เนื่องจากเกิดปฎิกิริยาเคมี มีชื่อเรียกทางเคมีว่ากาวไซยาโนอะคริเลต(Cyanoacrylate )และชื่อทางการค้าว่า ซูเปอร์กลู (Super glue) ในประเทศไทยรู้จักกันในชื่อ กาวตราช้าง หรือ กาวช้าง มีประวัติการค้นพบเริ่มต้นในห้องวิจัยของบริษัทโกดัก (Kodak) เมืองรอเชสเตอร์(Rochester)รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1942ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ดร.คูเวอร์ (Dr.Harry Coover)นักวิจัยของบริษัทได้พยายามผลิตแผ่นพลาสติกใสสำหรับติดตั้งบนปืนเพื่อใช้ในการเล็งหาเป้าหมายในการยิง เขาได้ทดลองผลิตพลาสติกใสประเภทอะคริลิกขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยการเลือกใช้โมโนเมอร์ประเภทอะคริเลตหลายชนิด รวมถึงสารเอทิลไซยาโนอะคริเลต(Ethyl cyanoacrylate) ด้วย แต่ไม่นาน ดร.คูเวอร์ ก็ค้นพบว่าพลาสติกที่ผลิตจากไซยาโนอะคริเลตนี้เป็นพลาสติกที่ไม่มีประโยชน์ เนื่องจากมีความเหนียวติดแน่นบนพื้นผิวอุปกรณ์ต่างๆ จึงเป็นอุปสรรคต่อการใช้งานรวมทั้งยากต่อการทำความสะอาด จึงไม่ได้ให้ความสนใจในการนำมาวิจัยและพัฒนาต่อไป จนกระทั่งในอีก 9 ปีต่อมาจึงได้ค้นพบด้วยความบังเอิญในห้องทดลองร่วมกับทีมวิจัยของบริษัทอีสต์แมน โกดัก (Eastman Kodak) ในเมืองเทนเนสซี(Tennessee)ที่อยู่ระหว่างการวัดสมบัติหักเหแสง(refraction)ของสารเอทิลไซยาโนอะคริเลต จึงได้ทาสารนี้ลงระหว่างปริซึม2แท่ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องมือวัด แต่หลังจากนั้นก็ไม่สามารถหาวิธีการใดๆ ที่จะแยกปริซึมทั้ง2แท่งออกจากกันได้ จึงทำให้ดร.คูเวอร์สนใจและทำการทดลองต่อจนพบว่า เอทิลไซยาโนอะคริเลตมีสมบัติเป็นกาวที่มีการยึดติดที่แข็งแรงอย่างน่ามหัศจรรย์ มีความทนทานต่อแรงดึงสูง และสามารถยกวัตถุที่หนักถึง1ตันให้สูงขึ้นได้โดยการทากาวบนพื้นที่เพียง1ตารางนิ้วเท่านั้น   source: Mtec.or.th ประวัติการค้นพบกาวพลังช้าง (“Super glue กาวมหัศจรรย์”รหัสบทความ INFO-14580วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ปี2547เล่มที่34)

ประวัติของกาว

เชื่อหรือไม่ว่าหากเราจะสืบเสาะประวัติแรกเริ่มเดิมทีของกาวที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้นั้น จุดเริ่มต้นของการใช้กาวครั้งแรกนั้นเราต้องมองย้อนกลับไปนานถึง 3,000 ปีก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว หลักฐานชิ้นแรกของ “กาว” ในประวัติศาสตร์โลกถูกค้นพบในการวาดภาพบนฝาผนังถ้ำของเหล่าบรรพบุรุษมนุษย์ยุคหินในเมือง Lascaux ประเทศฝรั่งเศส สันนิษฐานได้ว่าศิลปินผนังถ้ำเหล่านี้ต้องการให้งานศิลปะของพวกเขาทนทาน พวกเขาจึงได้คิดค้นเทคนิคในการผสมกาวเข้ากับสี การทดลองนี้ทำให้สีสามารถต่อสู้กับความชื้นภายในถ้ำได้เป็นอย่างดี นับว่าการที่นักโบราณคดีสามารถค้นพบศิลปะผนังถ้ำในเวลาหลายพันปีต่อมา ส่วนหนึ่งคงต้องขอบคุณ ความฉลาดในการใช้กาวของบรรพบุรุษมนุษย์ถ้ำของเรา นอกจากศิลปะผนังถ้ำแล้ว หลักฐานอื่นที่แสดงถึงประวัติศาสตร์การใช้กาวยังมีให้เห็นในการสร้างกระดาษ ปาปีรัส (papyrus) ของชาวอียิปต์โบราณ และยังรวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ไม้ต่างๆ อีกทั้งในยุคกรีกโรมัน เหล่าศิลปินต่างเพลินเพลินในการใช้กาวในการสร้างสรรค์ศิลปะ เห็นได้จากผลงาน ศิลปะ mosaic บนพื้น ผนังกำแพง และ อ่างอาบน้ำโรมัน ซึ่งยังคงทน แข็งแรงจนถึงปัจจุบัน อ่านเพิ่มเติม: ประวัติ กาวตราช้าง Image courtesylascaux.culture.fr